วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเตรียมตัว เตรียมใจ ของเจ้าของบ้าน

G&G All Engineering Co.,LTD
บริษัท จี แอนด์ จี ออลล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
        รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างบ้าน และอาคารทุกประเภท ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง 
        ควบคุม งานโดยวิศวกรโยธา
_________________________________________________________________________________
        การสร้างบ้านมีปัญหาค่อนข้างมาก  ด้วยเหตุนี้  เจ้าของบ้านจึงให้บริษัทรับสร้างบ้าน หรือผู้รับเหมา ช่วยรับปัญหาต่าง ๆ ไปแทน  แต่ก็ได้เพียง 90% เท่านั้น  อีก 10% ก็อาจทำให้เจ้าของบ้านรำคาญใจ  แต่จริง ๆ  เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ในการทำงานก่อสร้าง  ซึ่งเจ้าของบ้านควรรับรู้  และทำใจไว้ก่อน  อาทิเช่น

      1. เรื่องเกี่ยวกับราชการ
      - การสร้างตาม พรบ. ก่อสร้าง
      - การขออนุญาตก่อสร้างล่าช้า
      - การสร้างผิดแบบ ผิด พรบ.
      - การร้องเรียน เสียงดังรบกวน,ฝุ่น,หน้าบ้านเลอะเทอะ  ของตกหล่นบ้านข้างเคียง เศษวัสดุต่าง ๆ
      - การขอเลขที่บ้าน การขอไฟฟ้า การขอประปา
      - เทศกิจมาตรวจ  แจ้งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ
      - การล่าช้าของการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการ  เพราะทางผู้รับจ้างเร่งรัดมากไม่ได้
      - ชื่อในโฉนด และในใบอนุญาตขอปลูกสร้างบ้านไม่ตรงกัน ควรดำเนินการแก้ไขให้ตรงกันก่อน

      2. สถานที่ก่อสร้าง
      - กฎระเบียบของหมู่บ้าน เจ้าของบ้านต้องมีการติดต่อก่อน
      - ทางแคบ ถนนไม่ดี  การขนส่งวัสดุต้องใช้รถคันเล็ก การสั่งของเข้าไซส์งานล่าช้า  ไม่ได้ทันใจ
      - สร้างบ้านเต็มพื้นที่  ไม่มีที่เก็บของ  หรือที่พักคนงาน  ต้องหาที่เช่าให้ผู้รับจ้าง
      - ขัดแย้งบ้านข้างเคียงเรื่องแนวเขตที่ดิน ต้องเสียค่ารังวัด ขัดแย้งเรื่องฝุ่นละออง เสียงรบกวน ถนนชำรุด ฯ
      - ที่ดินมีขยะ หรือต้นไม้ หรือบ้านเก่า ต้องเสียค่าใช้จ่ายรื้อถอน
      - การถมดิน กรณีที่ดินต่ำกว่าถนน มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

      3. การทำงานผิดพลาด
      - ทำงานผิดแบบหรือผิดขั้นตอน ( มีจุดระวังผิดพลาด ประมาณ 400 จุด ทำผิดพลาดเพียง 5% หรือ 20 จุด เป็นเรื่อง ปกติของการก่อสร้าง แต่เป็นเรื่องใหญ่ของเจ้าของบ้าน )
      - แบบเขียนไม่ละเอียด หรือเขียนผิด ( ปกติทุกหลังจะมีการแก้ไขประมาณ 2% อยู่แล้ว )
      - วัสดุเสียหายปูนแข็งตัวก่อนใช้งานวัสดุเหลือเศษมากเกินไป ใช้วัสดุสิ้นเปลืองเกินไป
      - ช่างทำงานผิดพลาด  มีการหักเงิน  ช่างไม่พอใจ  หนีงาน  ต้องหาช่างใหม่  เสียเวลา และค่าใช้จ่ายเพิ่ม
      - โฟร์แมนตรวจงานผิดพลาด ต้องมีการเปลี่ยนโฟร์แมนใหม่เข้าไปดูงานแทน เสียเวลาเพิ่ม



      4. การเลือกวัสดุ 
      - ส่วนใหญ่เจ้าของบ้าน จะมีการเปลี่ยนวัสดุจากมาตรฐานของบริษัท  เป็นแบบตามที่ตนพอใจอยู่แล้ว  เช่น ประตู หน้าต่าง บานพับ ลูกบิดสุขภัณฑ์ โคมไฟ กระเบื้อง ปาร์เก้ ไม้บันได สีทาบ้าน ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ราวระเบียง บล็อคแก้ว ซึ่งเจ้าของบ้านต้องคัดเลือกเอง อาจทำให้งานล่าช้า หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ต้องเตรียมใจในเรื่องนี้ด้วย
      - การเลือกวัสดุควรเลือกล่วงหน้าไม่เกิน  2  เดือน ต้องระวังเรื่องที่เก็บวัสดุ วัสดุตกรุ่น หรือวัสดุขาดตลาด
      - ลูกค้าควรเตรียมข้อมูลเรื่องวัสดุ-อุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนแต่เนิ่นๆ จะได้เตรียมตัวทันเมื่อถึงเวลาทำงานจริง
      - กรณีที่เจ้าของบ้านสรุปรายการเลือกวัสดุล่าช้า  หรือ ช่างทิ้งงาน อาจทำให้การก่อสร้างหน้างานล่าช้าไปด้วย   ต้องมีการยืดหยุ่นเวลาการทำงานให้กับบริษัท

      5. การเปลี่ยนแปลงระหว่างก่อสร้าง
      - ถึงแม้ว่ามีการปรับแบบ  หรือมีมัณฑนากรช่วยแล้ว  แต่เมื่องานก่อฉาบเสร็จ  จะเห็นพื้นที่ใช้สอยจริง  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีการแก้ไขตามจินตนาการของเจ้าของบ้าน ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
      - งานที่ในแบบมี  แต่ในสเปคไม่มี  เจ้าของบ้านต้องจ่ายเงินเพิ่ม
      - การเปลี่ยนแปลงงานระหว่างก่อสร้างบางงาน หากเจ้าของบ้าน ไม่สรุปรายการให้ทางบริษัทแต่เนิ่นๆ  อาจทำให้งานล่าช้าได้  เกิดเนื่องจากปัจจัยภายนอกหลายด้านที่ไม่ทราบล่วงหน้า เช่น วัสดุหายาก ขาดช่างฝีมือเฉพาะด้าน วัสดุยกเลิกการผลิต เป็นต้น

      6. ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องช่าง / ผู้รับเหมา
      - ช่างหรือผู้รับเหมา ก่อนรับเข้ามาได้มีการอบรมหัวหน้าทุกชุดแล้ว แต่ช่างแต่ละชุดมีการเปลี่ยนลูกน้องเป็นประจำ จึงอาจเกิดปัญหาได้
      - ช่างส่งเสียงดัง ทะเลาะวิวาท เพราะช่างส่วนใหญ่ความรู้ต่ำ ชอบกินเหล้า เล่นการพนัน ถึงแม้จะมีข้อห้าม
      - ช่างต่างด้าว สื่อสารภาษาไม่ดี ตำรวจตรวจค้น
      - ช่างยืมเงินเจ้าของบ้าน (อ้างไม่จ่ายค่าแรง เจ้าของบ้านควรสอบถามทางบริษัทก่อนไม่ควรให้ยืม)
- ช่างแฝงตัวมาทำงาน ( ให้ร้ายบริษัท เพื่อตัดงานไปทำเองโดยตรง ทำให้เจ้าของบ้านมองบริษัทในแง่ลบ ควรสอบถามบริษัท เพื่อหาข้อเท็จจริง )
      - ช่างรับงานกับเจ้าของบ้านเอง เจ้าของบ้านให้ทำงานนอกเหนือสัญญา ทางบริษัทไม่ห้าม  แต่ต้องแจ้งทางบริษัทก่อน ข้อเสียคือ เจ้าของบ้านไม่กล้าติงานช่าง งานไม่เรียบร้อย และยอมรับงาน เพื่อช่างจะได้รับเงินค่าแรงก่อน เกรงใจช่าง และรับเจรจาต่อรองกับบริษัทแทนช่าง  แต่พอมีปัญหากับช่างเรื่องงาน  เรื่องเงิน ช่างจะแกล้งทำงานเสียหาย  หรือขโมยของเจ้าของบ้าน  และทางเจ้าของบ้าน  ก็จะให้บริษัทช่วยเหลือ หักเงินช่าง ไล่ออก ทำให้ความ สัมพันธ์ระหว่างเจ้าของบ้าน กับ บริษัทไม่ราบรื่น และงานสะดุด หรือมีงานเสียหายเกิดขึ้น สุดท้ายก็จะให้บริษัทเก็บงานให้ใหม่  ซึ่งที่จริงเจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบเอง
      - ช่างอาจเบิกเงินไป ( เนื้องานไม่สัมพันธ์กับเงินที่ตั้งเบิก ตั้งเบิกมากเกินเนื้องานที่ทำไป )
      - ช่างทำงานผิดพลาด ทำงานไม่ครบทุกขั้นตอน ต้องแก้ไข หรือทำผิดแบบผิดสเปค
      - ช่างขโมยของบริษัท หรือของเจ้าของบ้าน ( เจ้าของบ้านไม่ควรเอาวัสดุไปเก็บไว้ในไซส์งาน )
      - ช่างให้ร้ายบริษัท เจ้าของบ้านควรสอบถามข้อเท็จจริงจากทางบริษัทก่อนสรุป
      - ปัญหาช่างเก่งๆ   คือ  ต่อรองเก่ง เผด็จการ ไม่ง้องาน มนุษยสัมพันธ์ไม่ดี เชื่อมั่นตัวเอง พูดไม่น่าฟัง
      - ช่างชอบให้เจ้าของบ้านเจรจากับบริษัทเพื่อขอรับเงินโดยตรงจากเจ้าของบ้าน  เพราะทางบริษัทจะตรวจสอบละเอียด งานแล้วเสร็จจึงจ่าย และมีการหักเงินค่าประกันผลงาน หรือหักเงินค่าวัสดุเสียหาย หรืองานอื่นเสียหาย
      - เจ้าของบ้านระบุช่างที่ต้องการให้ทำงาน  แต่พอทำแล้วงานออกมาไม่ดี  ก็ผลักความรับผิดชอบให้บริษัท


      7. งานเก็บ งานนอกเหนือสัญญาจ้าง  เมื่อสร้างบ้านเสร็จ  เจ้าของบ้านต้องมาเหนื่อยกับการเก็บงานก่อนเข้าอยู่
      -  งานรั้ว
      -  งานถนน
      -  ลานซักล้าง
      -  ตกแต่งสวน
      -  ติดตั้งของตกแต่งบ้าน
      เพื่อจะได้พร้อมเข้าอยู่  ซึ่งส่วนมากเจ้าของบ้านจะใช้ช่างในไซส์งานทำงานให้  เจ้าของบ้านจึงผูกมิตรกับช่าง  เพื่อ ให้ช่างเก็บงานให้ ( เจ้าของบ้านต้องฟังข้อมูลจากช่างและบริษัท ควบคู่กันไป ก่อนพิจารณาว่า ฝ่ายใดให้ข้อมูลผิด )

      8. การทำงานไม่ต่อเนื่อง ตอนบ้านใกล้เสร็จ
      - การนัดหมาย ในงานก่อสร้าง การล่าช้า 3-7 วัน เป็นเรื่องปกติ
      - เจ้าของบ้านจะรำคาญใจ ใจร้อน อยากเข้าอยู่ไวๆ เห็นช่างว่างงานหรือไม่มีช่างทำงานก็จะร้อนใจ
      - บริษัทส่วนใหญ่ใช้ช่างเฉพาะด้าน ช่วงข้อต่อการเข้างานของช่าง จะใช้เวลา 3-7 วัน เพราะช่างมืออาชีพ จะมีการเข้าตรวจหน้างาน เตรียมความพร้อมก่อน เมื่อเข้างานแล้วจะดำเนินการทันที ไม่ปล่อยให้ลูกน้องว่างงาน
      - งานงวด 1-6 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4-6 เดือน  งวดงาน 7-10 ใช้ระยะเวลาประมาณ 4-6 เดือน  แล้วแต่ขนาดของบ้าน
      - การเก็บงานต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์ ในการเก็บงานที่ไม่เรียบร้อย จึงต้องมีการรอคิวงานช่าง  ถ้าใช้ช่างที่ไม่มีประสบการณ์ หรือฝีมือไม่ดี ไปเก็บงาน ก็จะทำให้งานเสียหายมากกว่าเดิมได้


      9. การเข้าไซส์งาน ควรหลีกเลี่ยง ดังนี้
      - อย่าเข้าไปไซส์งานตอนกลางคืน
      - ถ้าเป็นสุภาพสตรี ไม่ควรเข้าไปคนเดียว และอย่านำเด็กเล็ก เข้าไปวิ่งเล่นในไซส์งาน
      - ควรใส่หมวก และรองเท้า ที่สามารถป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุได้
      - ลดการโต้แย้งกับช่างหน้างาน ( เพราะช่างอาจควบคุมอารมณ์ไม่ได้  ถ้ามีงานแก้ไขให้แจ้งผู้รับจ้าง )

      10. การสอบถามเรื่องงาน ( ความคืบหน้าของงาน การแก้ไขงาน หรือ อื่นๆ )
      - ควรสอบถาม โฟร์แมน   ------ วิศวกร-------- ผู้จัดการฝ่ายก่อสร้าง ของบริษัทตามลำดับ
      - ควรสอบถาม ช่างหน้างาน ควรเป็นหัวหน้าช่าง และควรถามช่างที่ทำงานนั้น  อย่าถามช่างผิดแผนก
_________________________________________________________________________________
G&G All Engineering Co.,LTD
รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างบ้าน และอาคารทุกประเภท
Email : gg.allengineer@gmail.com  /  www.ggallengineer.com  /  https://www.facebook.com/ggeconstruction/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น