G&G All Engineering Co.,LTD
บริษัท จี แอนด์ จี ออลล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างบ้าน และอาคารทุกประเภท ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง
ควบคุม งานโดยวิศวกรโยธา
__________________________________________________________________________
บริษัท จี แอนด์ จี ออลล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างบ้าน และอาคารทุกประเภท ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง
ควบคุม งานโดยวิศวกรโยธา
__________________________________________________________________________
ส่วนประกอบอย่างแรกสุดเมื่อเรื่มปลูกสร้างก็คือ เสาเข็ม ซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งเช่นเดียวกัน โครงสร้างบ้านแข็งแรงเพียงใด แต่หากเสาเข็มไม่แข็งแรง บ้านก็ไม่ปลอดภัย เรามารู้จักกันว่าเสาเข็มมีกี่ชนิด และจะเลือกใช้อย่างไร
เสาเข็มโดยทั่วไปจะแยกออกได้เป็นสำคัญ 2 ประเภทคือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ ส่วนเสาเข็ม พิเศษอื่น ๆ เช่น Micro Pile นั้น เหมาะกับงานที่พื้นที่ค่อนข้างจำกัดมากหรืองานประเภทซ่อมแซมต่อเติม
1.เสาเข็มตอก
-
คือการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกที่ต้องการ เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากวิธีการก่อสร้างไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่มีข้อจำกัดในการก่อสร้างในพื้นที่ที่มีอาคารรอบข้าง เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนในการตอกและการเคลื่อนตัวของดินที่ถูกแทนที่ด้วยเสาเข็ม อาจทำให้สิ่งปลูกสร้างข้างเคียงสะเทือนและเกิดรอยร้าวได้ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง(เสาเข็มตอก) สามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกตามรูปร่างลักษณะของเสาเข็ม ที่ใช้กัน แพร่หลายได้แก่1. เสาเข็มรูปตัวไอ
2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
4. เสาเข็มรูปตัวที
เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 21 เมตร (แล้วแต่ระดับ ชั้นทราย) วิธีการคือเจาะดินลงไป (แบบแห้ง) แล้วก็หย่อนเหล็กเทคอนกรีตลง ไปในหลุม ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก ทั้งเรื่องการเคลื่อนตัวของดิน ความสั่น สะเทือน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น
3. เสาเข็มเจาะแบบเปียก
ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึกๆ แล้วใส่สารเคมี(สารละลายเบนโทไนท์)ลงไปเคลือบผิวหลุมดินที่เจาะ ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดินและดันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึก ๆ (ซึ่งสามารถ เจาะได้ลึกถึงกว่า 70 เมตร) รับน้ำหนักได้มากและเกิดมลภาวะน้อย ราคาแพง
เป็นอีกอีกวิธีหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อลดปัญหาเนื่องจากการสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม มีหลักการทำงานโดยใช้รถติดเครื่องเจาะกดเสาเข็มแทนการใช้ปั้นจั่นตอก โดยเสาเข็มที่ใช้เป็นคอนกรีตกลมแรงเหวี่ยงชนิดอัดแรง ซึ่งตรงกลางเสาเข็มมีรูสำหรับใส่ตอกสว่านเจานำดินขึ้นมา วิธีนี้สามารถป้องกันการเกิดแรงดันดินอันเนื่องจากการแทนที่ของเสาเข็ม เสาเข็มเจาะเสียบมีคุณสมบัติดีกว่าเข็มเจาะ เพราะสามารถควบคุมคุณภาพของเสาเข็มได้จากโรงงาน
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงชนิดอัดแรง ผลิตได้จากหลักการเหวี่ยงคอนกรีตรอบตัวเอง ซึ่งแรงหนีศูนย์กลางของคอนกรีตจะอัดคอนกรีตให้แน่นเป็นวงกลมรอบเสาเข็มส่วนที่เป็นน้ำจะถูกกดดดันให้อยู่ด้สนใน การเหวี่ยงคอนกรีตทำให้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ ลดต่ำกว่าการทำให้แน่โดยวิธีทั่วไป ทำให้คอนกรีตมีกำลังสูง มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้ดี และเนื่องจากคอนกรีตมีกำลังสูงจึงสามารถต้านทานแรงกดได้ดีกว่าเสาเข็มอื่นบางชนิด รอยต่อใช้แผ่นเหล็ก เชื่อมต่อกันระหว่างเสาทำให้มีกำลังสูงกว่าตัวเสา เสากลมแรงเหวี่ยงให้หน้าตัดรูปทรงกลมซึ่งเป็นหน้าตัดที่ประหยัด คือ อัตราเพิ่มของโมเมนต์ของความเฉื่อยมีมากกว่าอัตราเพิ่มของพื้นที่หน้าตัดเมื่อเปรี่ยบเทียบกับเสาตัน
เครื่องจักรที่ใช้ในการทำเสาเข็มเจาะเสียบ
- Pile Diver เป็นรถที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการตอกเสาเข็มแทนการใช้ปั้นจั่น เหมาะกับพื้นที่คับแคบส่วนตัวรถจะมี Load สำหรับแขวนเครื่องเจาะกด หรือ Diesel Hammer
- Diesel Pile Hammer ใช้สำหรับการตอกย้ำเสาเข็มในช่วงสุดท้ายให้ได้ระดับ
- Back Hoe รถสำหรับตักดิน ที่เกิดจากการเจาะโดยทำการตักดินออกไปจากพื้นที่ก่อสร้าง
- อุปกรณ์การเจาะกดซึ่งประกอบด้วยสว่านเจาะดิน มอเตอร์ ขับสว่านและชุดกดเสา
ระบบการทำงานของเสาเข็มเจาะเสียบ
- Partial Auger Press คือ เมื่อเจาะดินไปได้ระดับหนึ่งแล้ว ใช้ Diesel Pile Hammer หรือ Drop Hammer ตอกย้ำจนถึงระดับที่ต้องการ การตอกในช่วงสุดท้ายนี้ก็เพื่อให้ดินเข้าไปแทนที่ในรูเสาช่วงล่างซึ่งจะเป็นการเพิ่มพื้นที่หน้าตัดเสา ปละปลายเสาจะลงไปอยู่ในบริเวรดินแข็ง ซึ่งพ้นจากบริเซรที่ถูกเจาะด้วยสว่านช่วยลดการทรุดตัวในระยะเริ่มแรก
- Full Auger Press เป็นการทำ Auger Press ตลอดทั้งต้นโดยไม่ใช้การตอกเลยวิธีนี้จะใช้กรณีที่ไม่ต้องการให้มีการสั่นสะเทือนเลย
ส่วน การเลือกว่าจะใช้เข็มแบบไหนดีนั้น ต้องตั้งข้อสังเกตและปัญหาก่อนแล้วเปรียบเทียบความจำเป็น- ความเป็นไปได้ของแต่ละระบบในแต่ละงานโดยยึดถือข้อหลักประจำใจในการพิจารณาดังนี้
ก) ราคา
ข) บ้านข้างเคียง (มลภาวะ)
ค) ความเป็นไปได้ในการขนส่งเข้าหน่วยงาน
ง) เวลา ทั้งเวลาทำงาน และเวลาที่ต้องรอคอย
______________________________________________________________________________
G&G All Engineering Co.,LTD
รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างบ้าน และอาคารทุกประเภท
Email : gg.allengineer@gmail.com / www.ggallengineer.com / https://www.facebook.com/ggeconstruction/
G&G All Engineering Co.,LTD
รับสร้างอพาร์ทเม้นท์ รับสร้างบ้าน และอาคารทุกประเภท
Email : gg.allengineer@gmail.com / www.ggallengineer.com / https://www.facebook.com/ggeconstruction/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น